สนใจติดต่อ
ภูมิพัฒน์ สิทธิโรจน์อมร
062-6179399 phumiphat.sit@gmail.com แผนที่
Share

โคลอสตรุ้ม (Colostrum) หรือน้ำนมเหลือง (Fresh Milk) คือน้ำนมที่มีการหลั่งออกมาจากแม่วัวหลังจากการคลอดลูกประมาณ72 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์เรียกโคลอสตรุ้มว่า“ของเหลวทองคำ” หรือ Liquid Gold หรือ เรียกว่า “นมสร้างภูมิ” หรือ Immune Milk (Chaudhary et al., 2016; Manikant & Sudhir, 2014; Uruakpa et al., 2002) เพราะมีสารในกลุ่มอิมมูโนโกลบูลิน(Immunoglobulin หรือ Ig) ซึ่งทําหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกาย Ig มี 5 ชนิด คือ IgG, IgA, IgM, IgD, และ IgE ซึ่ง IgG จะมีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย ทำให้โคลอสตรุ้มได้รับการวิจัยถึงประโยชน์ในการป้องกัน หรือเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า ในโคลอสตรุ้มยังประกอบไปด้วยโกรท แฟคเตอร์ (Insulin Like Growth Factor) ซึ่งเป็นรูปแบบของโกรท ฮอร์โมนที่ร่างกายนำไปใช้ได้เลย

โคลอสตรุ้ม มีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกัน และซ่อมแซมร่างกาย Hardy (2000) กล่าวว่า โคลอสตรุ้ม คือ อาหารเดี่ยวที่สำคัญที่สุดในโลก เนื่องจากคุณค่าของสารอาหารที่รวมอยู่ในน้ำนมแรก เพื่อการเจริญเติบโตและรอดชีวิตของทารก

งานวิจัยโคลอสตรุ้ม

กระตุ้นภูมิต้านทาน

โคลอสตรุ้มประกอบด้วยสารในกลุ่มอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin หรือ Ig) ทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ IgG, IgA, IgM, IgD, และ IgE ซึ่ง IgG จะมีปริมาณมากที่สุด คิดเป็น 85% ของ Ig ทั้งหมด IgG เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ภูมิคุ้มกันนี้จะจดจำแอนติเจน (antigen) หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้ ได้เมื่อเกิดการติดเชื้อ IgG จะต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม โดยการกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ (Iymphocyte) สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น หน้าที่หลักของ IgG คือ การทำลายเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส รวมทั้งสารพิษ แบบเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายเคยได้รับ ก่อนที่จะมีการผลิตวัคซีนชนิดใดๆขึ้นมาในโลก โคลอสตรุ้ม คือ วัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติจากแม่สู่ลูก (Sarkar et al., 2015) สำหรับต่อต้านเชื้อโรค สารพิษ และสิ่งแปลกปลอมทุกชนิด

โกรท แฟคเตอร์

โกรท แฟคเตอร์ที่มีอยู่ในโคลอสตรุ้มมีหลายชนิด ชนิดสำคัญคือ ไอจีเอฟ-วัน (IGF-1) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ได้เลยของโกรท ฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และ การสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกซ่อมตัวเองได้เร็วขึ้น ซ่อมระบบประสาทและสมอง ซ่อมแซมระบบทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลได้ดีขึ้น และ ลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้งช่วยในการลดน้ำหนัก นอกจาก IGF-1 แล้วในโคลอสตรุ้มยังมีโกรท แฟคเตอร์อีกหลายชนิด อย่างเช่น ไฟโบรบลาส โกรท แฟคเตอร์ (Fibroblast growth factor (FGF)) ที่ช่วยในการกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์ให้ผลิตเส้นใยคอลลาเจน และอิลาสทิน ช่วยให้ผิวสวยเต่งตึง ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยการซ่อมแซมกระดูก และ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง (Molloy et al., 2003)

แลคโตเฟอร์ริน สารสำคัญในการต้านมะเร็ง

ในโคลอสตรุ้มยังมีสารแลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin (LF))ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต้านมะเร็ง และการร่วมบำบัดมะเร็ง แลคโตเฟอร์ริน เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านการติดเชื้อโรค นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ควบคุมระบบภูมิต้านทานได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งยังกระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน และกระตุ้นการฆ่าตัวตาย (Apoptosis) ของเซลล์มะเร็ง และยังผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจในการนำแลคโตเฟอร์รินมาเป็นสารนำพายาฆ่าเซลล์มะเร็ง เข้าไปในสมองและไขสันหลัง และนำมาใช้รักษาร่วมกับการให้เคมีบำบัด และการฉายแสงในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผลของการให้เคมีบำบัดและการฉายแสงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดปริมาณการให้เคมีบำบัดและฉายแสงลงได้

เพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 และ CD8

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในโคลอสตรุ้ม มีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว (Leukocytes) มากกว่า 1 ล้านเซลล์ / 1 มิลลิลิตร ลิวโคไซด์ (Leukocytes) เป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่หลักในการต่อต้านเชื้อไวรัส ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะแบ่งออกเป็นชนิดย่อย 3 ชนิด ได้แก่ B cell คอยทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (Antibody) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่จับกับเชื้อโรค T cell คอยทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคโดยระบบการกระตุ้นเซลล์ (Cell-mediated immunity) และ Natural killer cell (หรือ NK cell) คอยทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็งโดยวิธีการกระตุ้นเซลล์ (คล้ายกับ T cell) งานวิจัยการรับประทานโคลอสตรุ้มยังพบว่า ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 และ CD8 เพิ่มขึ้น ซึ่ง CD4 ทำหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ส่วน CD8 ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือติดเชื้อจุลชีพ รวมทั้งเซลล์มะเร็ง


References

1. Atkinson, D. J., von Keyserlingk, M. A. G., & Weary, D. M. (2017). Benchmarking passive transfer of immunity and growth in dairy calves. Journal of Dairy Science, 100(5),3773–3782.
2. Bagwe, S., Tharappel, L. J. P., Kaur, G., & Buttar, H. S. (2015). Bovine colostrum: An emerging nutraceutical. Journal of Complementary and Integrative Medicine, 12(3).
3. Gauthier, S. F., Pouliot, Y., & Maubois, J.-L. (2006). Growth factors from bovine milk and colostrum: Composition, extraction and biological activities. Le Lait, 86(2), 99–125.

เอกสารเพื่อการอบรมภายในบริษัทเท่านั้น

Related Products